การบันทึกครั้งที่ 3
วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ.2560
เนื้อหาที่เรียน ความรู้ที่ได้รับ
ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา (Children with Speech and Language Disorders)
ความบกพร่องทางการพูด
หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องซึ่งเกิดจากการพูดผิดปกติในด้านความชัดเจนในการปรับ ปรุงแต่งระดับและคุณภาพของเสียง จังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด เช่น ปากแหว่งเพดานโหว่
1.ความบกพร่องในด้านการปรุงเสียง (Articulator Disorders)
- เสียงบางส่วนของคำขาดหายไป "ความ" เป็น "คาม"
- ออกเสียงของตัวอื่นแทนตัวที่ถูกต้อง "กิน" "จิน" กวาด ฝาด
- เพิ่มเสียงที่ไม่ใช่เสียงที่ถูกต้องลงไปด้วย "หกล้ม" เป็น "หก-กะ-ล้ม"
- เสียงเพี้ยนหรือแปล่ง "แล้ว" เป็น "แล่ว"
- พูดไม่ถูกตามลำดับขั้นตอนไม่เป็นไปตามโครงนสร้างของภาษา
- การเว้นวรรคตอนไม่ถูกต้อง
- อัตราการพูดเร็วหรือช้าเกินไป
- จังหวะของเสียงพูดผิดปกติ
- เสียงพูดขาดความต่อเนื่อง สละสลวย
- ความบกพร่องของระดับเสียง
- เสียงดังหรือค่อยเกินไป
- คุณภาพเสียงไม่ดี พูดแล้วไม่น่าฟัง
ความบกพร่องทางภาษา
หมายถึง การขาดความสามารถที่จะเข้าใจความหมายของคำพูดและ/หรือไม่สามารถแสดงความคิดออกมาเป็นถ้อยคำได้
1. การพัฒนาการทางภาษาช้ากว่าวัย (Delayed Language)
- มีความยากลำบากในการใช้ภาษา
- มีความผิดปกติของไวยากรณ์และโครงสร้างของประโยค
- ไม่สามารถสร้างประโยคได้
- มีความบกพร่องทางเชาว์ปัญญา อารมณ์ สมองผิดปกติ
- ภาษาทีใช้เป็นภาษาห้วนๆ
2.ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมากจากพยาธิภาพที่สมอง โดยทั่วไปเรียกว่า Dysphasia หรือ aphasia
- อ่านไม่ออก (alexia) *โตแล้วก็ยังทำไม่ได้
- เขียนไม่ได้ (agraphia) *โตแล้วก็ยังทำไม่ได้
- สะกดคำไม่ได้
- ใช้ภาษาสับสนยุ่งเหยิง
- จำคำหรือประโยคไม่ได้
- ไม่เข้าใจคำสั่ง
- พูดตามหรือบอกชื่อสิ่งของไม่ได้
- ไม่รู้จักชื่อนิ้ว (finger agnosia)
- ไม่รู้ซ้ายขวา (allochiria)
- คำนวณไม่ได้ (acalculia)
- เขียนไม่ได้ (agraphia)
- อ่านไม่ออก (alexia)
- ในวัยทารกมักเงียบผิดธรรมชาติ ร้องไห้เบาๆ และอ่อนแรง
- ไม่อ้อแอ้ภายในอายุ 10 เดือน
- ไม่พูดภายในอายุ 2 ขวบ
- หลัง 3 ขวบแล้วภาษาของเด็กก็ยังฟังเข้าใจยาก (เข้าใจอยู่คนเดียว)
- ออกเสียงตัวสะกดไม่ได้
- หลัง 5 ขวบ เด็กยังคงใช้ภาษาที่เปนประโยคไม่สมบูรณ์ในระดับประถมศึกษา
- มีปัญหาในการสื่อความหมาย พูดตะกุกตะกัก
- ใช้ท่าทางในการสื่อความหมาย (ใช้ภาษามือ)
เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ (Children with Physical and Health Impairments)
- เด็กที่มีอวัยวะไม่สมส่วน
- อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหายไป (แขน ขา ขาด)
- เจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรง
- มีปัญหาทางระบบประสาท (ไม่ใช่บ้า)
- มีความลำบากในการเคลื่อนไหว (เดินกะเพก)
- เป็นลักษณะอาการที่เกิดเนื่องมาจากความผิดปกติของระบบสมอง
- มีกระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติและมากเกินไปปล่อยออกมาจากเซลล์สมองพร้อมกัน (สมองส่งกระแสกประสาทผิดเพี้ยน ยังไม่สามารถระบะสาเหตุได้ชัดเจน)
- อาการเหม่อนิ่งเป็นเวลา 5-10 วินาที
- มีการกระพิบตาหรืออาจมีเคี้ยวปาก
- เมื่อเกิดอาการชักเด็กจะหยุดชะงักในท่าก่อนชัก
- เด็กจะนั่งเฉย หรือเด็กอาจจะตัวสั่นเล็กน้อย
- เมื่อเกิดอาการชัก เด็กจะส่งเสียง หมดความรู้สึก ล้มลง กล้ามเนื้อเกร็ง เกิดขึ้นราว 2-5 นาที จากนั้นจะหายและนอนไปชั่วครู (บางคนอาจกรีดร้อง หรือ เกร็ง)
- มีอาการประมาณไม่เกิน 3 นาที
- เหม่อนิ่ง
- เหมือนรู้สึกตัวแต่ไม่รับรู้ไม่ตอบสนองต่อคำพูด
- หลักชักอาจจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ และต้องการนอนพัก (หน้าตาเหมือนเมาเหล้าเวลาชัก)
- เป็นอาการที่เกิดขึ้นในระยะสั้น เด็กไม่รู้สึกตัว อาจทำอะไรบางอย่างโดยที่ตัวเองไม่รู้ เช่น ร้องเพลง ดึงเสื้อผ้า เดินเหม่อลอย แต่ไม่มีอาการชัก
- เมื่อเกิดอาการชักจะทำให้หมดสติ และหมดความรู้สึกในขณะชักกล้ามเนื้อเกร็งหรือแขนขากระตุก กัดฟัน กัดลิ้น
การปฐมพยาบาลขั้นพื้นฐานในกรณีเด็กมีอาการชัก
- จับเด็กนอนตะแคงขวาบนพื้นราบที่ไม่มีของแข็ง
- ไม่จับยึดตัวเด็กขณะชัก
- หาหมอนหรือสิ่งนุ่มๆ รองศีรษะ
- ดูดน้ำลาย เสมหะ เศษอาหารออกจากปาก เพื่อให้ทางเดินหายใจโล่ง
- จัดเสื้อผ้าเด็กให้หลวม
- ห้ามนำวัตถุใดๆ ใส่ในปาก
- ทำการช่วยหายใจดดยวิธีการเป่าปากหากเด็กหยุดหายใจ
ซี.พี. (Cerebral Palsy)
- การเป็นอัมพาตเนื่องจากระบบประสาทสมองพิการ หรือเป็นผลมาจากสมองที่กำลังพัฒนาถูกทำลายก่อนคลอด ระหว่างคลอด หรือ หลังคลอด
- การเคลื่อนไหว การพูด พัฒนาการล่าช้า เด็กซีพี มีความบกพร่องที่เกิดจากส่วนต่างๆ ของสมองแตกต่างกัน (ไม่ส่งผลต่อ IQ
1.กลุ่มแข็งเกร็ง (Spasitc)
- Spastic hemiplegia อัมพาตครึ่งซีก (แขนขวา ขาขวา , แขนซ้าย ขาซ้าย)
- Spastic dipleagia อัมพาตครึ่งท่อนบน (แขนขวา , แขนซ้าย)
- Spasitc paraplegia อัมพาตครึ่งท่อนล่าง (ขาขวา , ขาซ้าย)
- Spastic quadriplegia อัมพาตทั้งตัว
2.กลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเอง (Athetoid , Ataxia)
- Athetoid อาการขยุกขยิกช้าๆ หรือ เคลื่อนไวเร็วๆ ที่เท้า แขน มือ หรือ ใบหน้าของเด็กบางรายอาจจมีคอเอียงปากเบี้ยวร่วมด้วย
- Ataxia มีความผิดปกติในการทรงตัวของร่างกาย กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน
3.กลุ่มอาการแบบผสม (Mixed)
กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscular Distrophy)
โรงทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Orthopedic)
ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิด เช่น เท้าปุก (Club Foot) สามารถรักษาได้ กระดูกข้อสะโพกเคลื่อน อัมพาตครึ่งท่อนเนื่องจากกระดูกไขสันหลังส่วนล่างไม่ติด (Spina Bifida)
โปลิโอ (Poliomyelitis)
- เกิดจากเส้นประสาทสมองที่ควบคุมกล้ามเนื้อส่วนๆนั้น เสื่อมสลายตัว
- เดินไม่ได้ นั่งไม่ได้ นอนอยู่กับที่
- จะมีความพิการซ้อนในระยะหลัง คือ ความจำแย่ลง สติปัญญาเสื่อม
ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิด เช่น เท้าปุก (Club Foot) สามารถรักษาได้ กระดูกข้อสะโพกเคลื่อน อัมพาตครึ่งท่อนเนื่องจากกระดูกไขสันหลังส่วนล่างไม่ติด (Spina Bifida)
- ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการดูกพิการด้วยโรคติดเชื้อ (Infection) เช่น วัณโรค กระดูกหลังโกง กระพูกผุ เป้นแผลเรื้อรังมีหนอง เศษกระดูกผุ
- กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้ออักเสบ
- มีอาการกล้ามเนื้อลีบเล็ก แต่ไม่มีผลกระทบต่อสติปัญญา
- ยืนไม่ได้ หรืออาจปรับสภาพให้ยืนเดินได้ด้วยอุปกรณ์เสริม
3.กลุ่มอาการแบบผสม (Mixed)
กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscular Distrophy)
โรงทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Orthopedic)
ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิด เช่น เท้าปุก (Club Foot) สามารถรักษาได้ กระดูกข้อสะโพกเคลื่อน อัมพาตครึ่งท่อนเนื่องจากกระดูกไขสันหลังส่วนล่างไม่ติด (Spina Bifida)
โปลิโอ (Poliomyelitis)
- เกิดจากเส้นประสาทสมองที่ควบคุมกล้ามเนื้อส่วนๆนั้น เสื่อมสลายตัว
- เดินไม่ได้ นั่งไม่ได้ นอนอยู่กับที่
- จะมีความพิการซ้อนในระยะหลัง คือ ความจำแย่ลง สติปัญญาเสื่อม
ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิด เช่น เท้าปุก (Club Foot) สามารถรักษาได้ กระดูกข้อสะโพกเคลื่อน อัมพาตครึ่งท่อนเนื่องจากกระดูกไขสันหลังส่วนล่างไม่ติด (Spina Bifida)
- ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการดูกพิการด้วยโรคติดเชื้อ (Infection) เช่น วัณโรค กระดูกหลังโกง กระพูกผุ เป้นแผลเรื้อรังมีหนอง เศษกระดูกผุ
- กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้ออักเสบ
- มีอาการกล้ามเนื้อลีบเล็ก แต่ไม่มีผลกระทบต่อสติปัญญา
- ยืนไม่ได้ หรืออาจปรับสภาพให้ยืนเดินได้ด้วยอุปกรณ์เสริม
โรคอื่นๆ
- โรคระบบทางเดินหายใจ
- โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus)
- โรคหัวใจ (Cardiac Conditions)
- โรคมะเร็ง (Cancer)
- เลือดไหลไม่หยุด (Hemophilia)
- แขนขาด้วนตั้งแต่กำเนิด (Limb Deficiency)
ความรู้ที่ได้รับ
- การทราบถึงความหมาย อาการและเทคนิคการจัดการเรียนการสอนแก่ที่มีความต้องการ
พิเศษ
การนำไปใช้
- นำความรู้ที่ได้เรียนไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนกับเด็กพิเศษ เราจะต้องจัดการเรียนการ
สอนให้เหมาะสมกับอาการของเด็กเเต่ละคน
สอนให้เด็กเข้าใจและสอนให้เด็กสามารถช่วย
เหลือตนเองในชีวิตประจำวันได้
เมื่อเด็กมีอาการกำเริบเราสามารถนำความรู้ที่มีมา
ปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้
เทคนิคการสอน
- เทคการใช้สื่อในการสอน
-เทคนิคการอธิบาย
- เทคนิคการใช้ตัวอย่าง
ประเมิน
ตนเอง : แต่งกายเรียบร้อย มาเรียนตรงเวลาและตั้งใจเรียน
เพื่อน : แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์สอน
อาจารย์ : พูดจาสุภาพ ไพเราะ อารมณ์ขัน สนใจนักศึกษาทุกคน แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น