Cute Blinking Blue Cat

วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

การบันทึกครั้งที่ 8
วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560


ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นสัปดาห์สอบกลางภาค

วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

การบันทึกครั้งที่ 7
วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560

ศึกษาดูงาน ณ โรงเรียนเกษมพิทยา

โรงเรียนเกษมพิทยา

เปิดสอนในระดับ การศึกษาขั้นพื้นฐาน (อนุบาล - มัธยมศึกษา) นายเกษม สุวรรณดี เป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนเกษมพิทยา โดยมีอุดมการณ์ที่ จะจัดการศึกษาให้กับเยาวชนของชาติให้มีความเพียบพร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรมและมีความเป็นเลิศทางด้านวิชาการ ทั้งนี้เพื่อสร้างความพร้อมให้กับนักเรียนที่จะเป็น เยาวชนที่ดีของครอบครัวสังคมและประเทศชาติในอนาคตต่อไป

โรงเรียนได้รับอนุญาตให้จัดตั้งเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2504 พร้อมทั้ง ดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียนหลังแรก จำนวน 5 ห้องเรียนและเปิดทำการสอน เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 ต่อมาในปี พ.ศ. 2525 ได้เปิดระดับอาชีวศึกษา คือ โรงเรียนเกษมโปลีเทคนิค และระดับอุดมศึกษา คือมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ในปี พ.ศ. 2530 สำหรับแผนกอนุบาลเริ่มเปิดรับนักเรียนในปี พ.ศ. 2533 จึงนับได้ว่าเป็นสถานศึกษาเอกชนแห่งแรกของประเทศไทยที่เปิดดำเนินการตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษาถึงระดับอุดมศึกษา



ในการศึกษาดูงานในครั้งนี้ เป็นการศึกษาและสังเกตพฤติกรรมการเรียนรวมของเด็กในแต่ละห้อง
ดิฉันได้ศึกษาดู ห้อง อนุบาลปีที่ 1/1
น้องชิชิและน้องภูริ 
กิจกรรมหน้าเสาธง มีการเต้นออกกำลังกายในตอนเช้า




เริ่มอบรมและรู้ประวัติของโรงเรียนเกษมพิทยา


ในห้องเรียน อนุบาลปีที่ 1/1 
วันนี้เด็ก ๆ กำลังปิดโปรเจ็ค หน่วยเค้ก 
การสังเกตพฤติกรรมของเด็กพิเศษ
ชื่อ น้องชิชิ
อายุ 4 ปี
ประเภท โรคออทิสติก
ด้านที่น้องเด่น คือ น้องยิ้มเก่ง ตัวเล็กแต่แข็งแรง หน้าตาน่ารัก

พฤติกรรมก่อนหน้านี้
  • เหม่อลอย
  • อยู่ไม่นิ่ง
  • ช่วยเหลือตนเองได้
  • อารมณ์ไม่คงที่ อยู่ๆก็ร้องไห้ หัวเราะบ้าง
  • พูดยังไม่ได้ สามารถสื่อสารได้บ้าง แต่ไม่เป็นคำ
  • มีการตอบสนองเวลาครูคุยหรือเล่นด้วย จะส่งยิ้มให้และหัวเราะให้
  • ทำพฤติกรรมซ้ำๆ 
  • ไม่สามารถอยู่นิ่งได้เป็นเวลานาน ไม่เข้าใจคำสั่ง
  • ครูต้องคอยนั่งอยู่ข้างๆ
พฤติกรรมตอนที่สังเกต
  • ช่วยเหลือตนเองได้ สามารถบอกความต้องการของตนเองได้
  • น้องจะชอบมองพัดลม
  • น้องยิ้มเก่ง
  • อยู่ไม่นิ่ง
  • เหม่อลอย

พฤติกรรมที่ควรส่งเสริม
  • การเข้าสังคมกับเพื่อนๆ 
  • พัฒนาการน้องอาจจะช้า ครูจึงต้องคอยกระตุ้น ดูแลและควบคุมอย่างใกล้ชิด

ชื่อ น้องภูริ
อายุ 7 ปี
ประเภท โรคพราเดอร์-วิลลี่ ซินโดรม

พราเดอร์-วิลลี่ ซินโดรม   

  (Prader-Willi Syndrome)  

..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/142205

พราเดอร์-วิลลี่ ซินโดรม   

  (Prader-Willi Syndrome)

..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/142205

พราเดอร์-วิลลี่ ซินโดรม   

  (Prader-Willi Syndrome)

..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/142205
ด้านที่น้องเด่น คือ น้องจำชื่อเพื่อนได้ 

พฤติกรรมก่อนหน้านี้

  • กินไม่รู้จักอิ่มหรือกินจุ
  • พัฒนาการช้า ครูจึงต้องคอยกระตุ้น ดูแลและควบคุมอย่างใกล้ชิด
  • พูดได้ปกติ แต่ไม่ขี้เกียจพูด (ต้องมีของกินมาจูงใจ)
  • เก็บของเข้าที่
พฤติกรรมตอนที่สังเกต
  • กัดฟัน (อยากจะพูด)
  • จะนั่งนิ่งๆ เวลาลุกเดินจะเดินไม่ค่อยไหว
  • จะแสดงอาการตามความรู้สึก
  • จะหยุดนิ่งกับสิ่งที่สนใจ
  • น้องขว้างบล็อค
  • เรียกชื่อเพื่อนได้
  • กอดเพื่อน
  • เก็บบล็อคใส่ตระกร้า

พฤติกรรมที่ควรส่งเสริม
  • การเข้าสังคมกับเพื่อนๆ 
  • พัฒนาการน้องอาจจะช้า ครูจึงต้องคอยกระตุ้น ดูแลและควบคุมอย่างใกล้ชิด
ภาพบรรยากาศต่างๆ 


















การบันทึกครั้งที่ 6
วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560


ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดประชุม


วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

การบันทึกครั้งที่ 5
วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560
เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ
ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ


6. เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
 (Children with Learning Disabilities) 

เรียกย่อๆ ว่า L.D. (Learning Disabilities)
  • เด็กที่มีปัญหาทาการเรียนรู้เฉพาะอย่าง
  • ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียน เด็กมีปัญหาเนื่องจากความพิการ หรือความบกพร่องทางร่างกาย
     สาเหตุของ L.D.
  •  ความผิดปกติของการทำงานของสมองที่ไม่สามารถถอดรหัสตัวอักษรออกมาได้ (เชื่อมโยงภาพตัวอักษรเข้ากับเสียงไม่ได้)         
  • กรรมพันธุ์
     1.ด้านการอ่าน (Reading Disorder)
  • อ่านหนังสือช้า ต้องสะกดทีละคำ
  • อ่านออกเสียงไม่ชัด ออกเสียงผิด หรืออาจข้ามคำที่อ่านไม่ได้ไปเลย
  • ไม่เข้าใจเนื้อหาที่อ่าน หรือจับใจความสำคัญไม่ได้
     ตัวอย่าง
  • หาว          --->          หาม/หา
  • ง่วง          --->          ม่วม/ม่ง/ง่ง
  • เลย          --->           เล
  • อาหาร      --->          อาหา
  • เก้าอี้      --->             อี้
  • อรัญ          --->         อะรัย
     ลักษณะของเด็ก L.D. ด้านการอ่าน
  • อ่านช้า อ่านคำต่อคำ ต้องสะกดคำจึงจะอ่านได้
  • อ่านออกเสียงไม่ชัดเจน
  •  เดาคำเวลาอ่าน
  • อ่านข้าม อ่านเพิ่มคำ อ่านผิดประโยคหรือผิดตำแหน่ง
  • อ่านโดยไม่เน้นคำ หรือเน้นข้อความบางตอน
  • ผันเสียงวรรณยุกต์ไม่ได้
  • ไม่รู้ความหมายของเรื่องที่อ่าน
  • เล่าเรื่องที่อ่านไม่ได้ จับใจความสำคัญไม่ได้
     2.ด้านการเขียน (Writing Disorder)
  • เขียนตัวหนังสือผิด สับสนเรื่องการม้วนหัวอักษร เช่น ม เป็น น หรือจาก ภ เป็น ถ เป็นต้น
  • เขียนตามการออกเสียง เช่น ประเภท เขียนเป็น ประเพด
  • เขียนสลับ เช่น สถิติ เขียนเป็น สติถิ
     ลักษณะของเด็ก L.D. ด้านการเขียน
  • ลากเส้นวนๆ ไม่รู้ว่าจะม้วนหัวเข้าในหรือออกนอก ขีดวนๆ ซ้ำๆ
  • เรียงลำดับอักษรผิด เช่น สถิติ เป็น สติถิ
  • เขียนพยัญชนะหรือตัวเลยสลับกัน
         เช่น  ม-น,ภ-ถ,ด-ค,พ-ผ,b-d,p-q,6-9 
  • เขียนพยัญชนะ ก-ฮ ไม่ได้แต่บอกให้เขียนเป็นตัวๆ ได้
  • เขียนพยัญชนะ หรือ ตัวเลขกลับด้าน คล้ายมองจากกระจกเงา
  • เขียนคำตามตัวสะกด เช่น เกษตร เป็น กะเสด
  • จับดินสอหรือปากกาแน่นมาก *เขียนกดแรง มีลอยลบบ่อยเวลาเขียน
  • สะกดคำผิด โดยเฉพาะคำพ้องเสียง ตัวสะกดแม่เดียวกัน ตัวการันต์
  • เขียนหนังสือช้า เพราะ กลัวสะกดผิด
  • เขียนไม่ตรงบรรทัด ขนาดตัวอักษรไม่เท่ากีน ไม่เว้นขอบ ไม่เว้นช่องไฟ
  • ลบบ่อยๆ เขียนทับคำเดิมหลายครั้ง
ตัวอย่าง
  • ปาลแผล   --->       บาดแผล
  • รัมระบาล    --->      รัฐบาล
  • ผีเสื้อมดุร   --->      ผีเสื้อสมุทร
  • ไกรรง     --->         กรรไกร
  • เกสรกะ     --->      เกษตรกร
  • ดักทุก     --->       บรรทุก


     3.ด้านการคิดคำนวณ (Mathematics Disorder) 
  • ตัวเลขผิดลำดับ
  • ไม่เข้าในเรื่องราวการทดเลขหรือการยืมเลขเวลาทำการบวกหรือลบ
  • ไม่เข้าใจหลักเลขหน่วย สิบ ร้อย
  • แก้โจทย์ปัญาเลขไม่ได้
***เด็กผู้หญิงเป็นเยอะกว่าเด็กผู้ชาย
     ลักษณะของเด็ก L.D. ด้านการคำนวณ
  • ไม่เข้าใจค่าของตัวเลขเช่นหลักหน่วยสือ ร้อย พัน หมื่น เป็นเท่าใด
  • นับเลขไปข้างหน้าหรือถอยหลังไม่ได้
  • คำนวณบวก ลบ คูณ หาร โดยการนับนิ้ว
  • จำสูตรคูณไม่ได้
  • เขียนเลขกลับกันเช่น 13 เป็น 31
  • ทดไม่เป็นยืมไม่เป็น
  • ตีโจทย์เลขไม่ออก
  • คำนวณเลขจากซ้ายไปขวาแทนที่จะทำจากขวาไปซ้าย
  • ไม่เข้าในเรื่องเวลา
     4.หลาย ๆ ด้านร่วมกัน เขียน/อ่าน/คำนวณ
    อาการที่มักเกิดร่วมกันกับ L.D. 
  • แยกแยะขนาดสีและรูปร่างไม่ออก
  • มีปัญหาความเข้าใจเกี่ยวกับเวลา
  • เขียน/อ่านตัวอักษรสลับซ้าย-ขวา
  • งุ่มง่ามการประสานงานของกล้ามเนื้อไม่ดี
  • การประสานงานของสายตา-กล้ามเนื้อไม่ดี 
  • สมาธิไม่ได้ (เด็ก L.D. ร้อยละ 15-20 มีสมาธิสั้น ADHD ร่วมด้วย)
  • เขียนตามแบบไม่ค่อยได้
  • ทำงานช้า
  • การวางแผนงานและจัดระบบไม่ดี
  • ฟังคำสั่งสับสน
  • คิดแบบนามธรรมหรือคิดแก้ปัญหาไม่ค่อยดี
  • ความคิดสับสนไม่เป็นขั้นตอน
  • ความจำระยะสั้น/ยาวไม่ดี
  • ถนัดซ้ายหรือถนัดทั้งซ้ายและขวา
  • ทำงานสับสนไม่เป็นข้ันตอน
7.ออทิสติก (Autistic)

       
  • หรือ ออทิซึ่ม (Autism)
  • เด็กที่ไม่สามารถมีปฏสัมพันธ์กับผู้อื่น
  • ไม่สามารถเข้าใจคำพูด ความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น
  • ไม่สามารถที่จะสื่อสารกับคนรอบข้างและสังคม
  • เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเอง
  • ติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต
"ไม่สบตา ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว"
    วัด 4 ทักษะนี้
  • ทักษะภาษา
  • ทักษะทางสังคม
  • ทักษะการเคลื่อนไหว
  • ทักษะการรับรู้เกี่ยวกับรูปทรง ขนาดและพื้นที่
    ลักษณะของเด็กออทิสติก
  • อยู่ในโลกของตนเอง *คิดอะไรในหัวเยอะ
  • ไม่เข้าไปหาใครเพื่อให้ปลอบใจ
  • ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน
  • ไม่ยอมพูด
  • เคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ
  1. ดูหน้าแม่                --->            ไม่มองตา
  2. หันไปตามเสียง     --->               เหมือนหูหนวก
  3. เรียนรู้คำพูดเพิ่มเติม    --->                เคยพูดได้ต่อมาหยุดพูด 
  4. ร้องเมื่อมีคนแปลกหน้าเข้าใกล้  --->    ไม่สนใจคนรอบข้าง
  5. จำหน้าแม่ได้         --->                    บางคนก็จำคนไม่ได้
  6. เปลี่ยนของเล่น       --->                   นั่งเล่นอย่างใดอย่างหนึ่ง
  7. เคลื่อนไหวอย่างมีจุดมุ่งหมาย   --->     มีพฤติกรรมแปลกๆ
  8. สำรวจและเล่นตุ๊กตา       --->             ดมหรือเลียตุ๊กตา
  9. ชอบความสุขและกลัวความเจ็บ   --->   ไม่รู้สึกเจ็บปวด ชอบทำร้ายตัวเอง และคนรอบข้าง
เกณฑ์การวินิจฉัยออทิสติกองค์การอนามัยโลกและสมาคมจิตแพทย์อเมริกา

     ความผิดปกติของปฏิสัมพันธ์ทางสังคม อย่างน้อย 2 ข้อ
  • ไม่สามารถใช้ภาษาท่าทางสื่อสารทางสังคมกับบุคคลอื่น
  • ไม่สามารถสร้างสัมพันธ์ภาพกับบุคคลให้เหมาะสมตามวัย
  • ขาดความสามารถในการแสวงหาการมีกิจกรรม ความสนใจ และความสนุกสนานร่วมกับผู้อื่น
  • ขาดทักษะการสื่อสารทางสังและทางอารมณ์กับผู้อื่น
     ความผิดปกติด้านการสื่อสาร อย่างน้อย 1 ข้อ
  • มีความล่าช้าหรือไม่มีการพัฒนาในด้านภาษาพูด
  • ในรายที่สามารถพูดได้แต่ไม่สามารถที่จะเริ่มต้นบทสนทนาหรือโต้ตอบบทสนทนากับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม
  • พูดซ้ำๆ หรือมีรูปแบบจำกัดในการใช้ภาษา เพื่อสื่อสารหรือส่งเสียงไม่เป็นภาษาอย่างไม่เหมาะสม
  • ไม่สามารถเล่นสมมุติหรือลอกตามจินตนาการได้เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ
     มีพฤติกรรม ความสนใจ และกิจกรรที่ซ้ำๆ และจำกัด อย่างน้อย 1 ข้อ 
  • มีความสนใจที่ซ้ำๆ อย่างผิดปกติ
  • มีกิจวัตรประจำวันหรือกฎเกณฑ์ที่ต้องทำไม่สามารถยืดหยุ่นได้ ถึงแม้ว่ากิจวัตรหรือกฎเกณฑ์นั้นจะไม่มีประโยชน์
  • มีการเคลื่อนไวร่างกายซ้ำๆ
  • สนในเพียงบางส่วนของวัตถุ
 พฤติกรรมทำซ้ำ
  • นั่งเคาะโต๊ะ หรือโบกมือนานเป็นชั่วโมง
  • นั่งโยกหน้าโยกหลังเป็นเวลานาน
  • วิ่งเข้าห้องนี้ไปห้องโน้น
  • ไม่ยอมให้เปลี่ยนสิ่งแวดล้อม
  พบความผิดปกติ อย่างน้อย 1 ด้าน (ก่อนอายุ 3 ขวบ) 
  • ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
  • การใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมาย
  • การเล่นสมมติหรือการเล่นตามจินตนาการ
  • ไม่สามารถวินิจฉัยให้เข้าข่ายโรคใดๆได้
 ออทิสติกเทียม
     • ปล่อยให้เป็นพี่เลี้ยงดูแลหรืออยู่กับผู้สูงอายุ
     • ปล่อยให้ลูกอยู่กับไอแพด
     • ดูการ์ตูนในทีวี
Autistic Savant ออทิสติกอัจฉริยะ
  • กลุ่มที่คิดด้วยภาพ (Visual Thinker)
    จะใช้การคิดแบบอุปนัย (Bottom up Thinking)
  • กลุ่มที่คิดโดยไม่ใช้ภาพ (Music,Math and Memory Thinker)
    จะใช้การคิดแบบนิรนัย (Top down Thinking)
ความรู้ที่ได้รับ
- การทราบถึงความหมาย อาการและเทคนิคการจัดการเรียนการสอนแก่ที่มีความต้องการ
พิเศษ

การนำไปใช้
- นำความรู้ที่ได้เรียนไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนกับเด็กพิเศษ เราจะต้องจัดการเรียนการ
สอนให้เหมาะสมกับอาการของเด็กเเต่ละคน สอนให้เด็กเข้าใจและสอนให้เด็กสามารถช่วย
เหลือตนเองในชีวิตประจำวันได้  เมื่อเด็กมีอาการกำเริบเราสามารถนำความรู้ที่มีมา
ปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้

เทคนิคการสอน
- เทคการใช้สื่อในการสอน
-เทคนิคการอธิบาย
- เทคนิคการใช้ตัวอย่าง

ประเมิน 
ตนเอง : แต่งกายเรียบร้อย มาเรียนตรงเวลาและตั้งใจเรียน
เพื่อน  : แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์สอน
อาจารย์  : พูดจาสุภาพ ไพเราะ อารมณ์ขัน สนใจนักศึกษาทุกคน แต่งกายสุภาพเรียบร้อย